ทำธุรกิจต้องส่งอะไรให้กรมสรรพากร ตอนที่ 2 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ต่อเนื่องจากตอนที่ 1 ผมได้กล่าวถึงภาษีซื้อและภาษีขาย ซึ่งมีผลต่อการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 กันไปแล้วนะครับ สำหรับหัวข้อที่ 2 นี้ผมจะมาพูดถึงภาษีที่ธุรกิจต้องยื่นให้กับกรมสรรพากรอีกหนึ่งแบบคือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายครับ มันคืออะไร ใครมีหน้าที่หัก และใครที่จะต้องถูกหัก ดูรายละเอียดกันเลยครับ

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่บริษัทหรือนิติบุคคลหักไว้ก่อนการจ่ายเงินให้กับนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (ถ้าไม่ยื่นในกำหนดผิดกฎหมายนะครับ)

ใครมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และใครคือผู้จ่ายเงิน
ขอบคุณภาพ : www.pexels.com

การหักภาษี ณ ที่จ่ายกับบุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบ ภงด.3 
การหักภาษี ณ ที่จ่ายกับนิติบุคคล ต้องยื่นแบบ ภงด.53

อัตราการหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายขึ้นอยู่กับประเภทของการจ่ายเงินดังนี้ครับ

·         ค่าบริการหัก 3% เช่น การจ้างทำบัญชี การจ้างทำเงินเดือน หรืองานบริการอื่นๆ รวมถึงการจ้างผู้รับเหมาด้วยนะครับ

·         ค่าขนส่งหัก 1% เช่น การจ้างบริษัทขนส่งสินค้า แต่หน่วยงานของรัฐบาลเช่นไปรษณีย์ไม่ต้องหักนะครับ

·         ค่าโฆษณาหัก 2% เช่น การจ้างสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และการจ้างโฆษณาอื่นๆ

·         ค่าเช่าหัก 5% เช่น ค่าเช่าโรงแรม ค่าเช่ารถยนต์ ค่าเช่าอาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดต้องมียอดขั้นต่ำ 1,000 บาทนะครับ จึงจะสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ แต่กรณีที่มีการทำสัญญาจ้างกันต่อเนื่องก็สามารถหักไว้ได้เลยครับ

และยังมีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอีก 1 ประเภทนะครับที่นิติบุคคลต้องหักไว้คือ เงินเดือน ค่าจ้างที่จ่ายให้กับบุคคลธรรมดา เอาไว้หัวข้อถัดไปผมจะมาอธิบายให้อ่านกันอีกครั้งนะครับ




ลุ๊ค@ME

ความคิดเห็น